การตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมการผ่าตัดศัลยกรรม
ก่อนการผ่าตัดศัลยกรรม ทุก ๆ คน ควรให้ความสำคัญในการตรวจสภาพร่างกายเพื่อความพร้อมก่อนทำการผ่าตัดกันด้วยนะ! แน่นอนว่า แต่ละหมอ แต่ละ โรงพยาบาลก็มีมารตรการในการตรวจวัดแตกต่างกันออกไป ใครผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาน้อยก็มีรายละเอียดการตรวจน้อย ใครผ่าตัดใหญ่ ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน ก็จะมีรายละเอียดการตรวจมากขึ้นเป็นธรรมดา ทั้งคู่ล้วนแล้วแต่จะต้องมีการตรวจร่างกายและวางแผนงานให้ชัดเจนก่อนอยู่เสมอ
นอกจากการเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในยามฉุกเฉิน ยาที่จำเป็น รวมถึงการเตรียมเลือดสำรองแล้ว การผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน จำเป็นอย่างมากที่จะต้องตรวจสุขภาพคนไข้เสียก่อน พร้อมทั้งต้องมีหมอวิสัญญีคอยประกบดูอาการตลอดการผ่าตัดด้วย ก็คนโดนวางยาอ่ะนะ เผื่อแพ้ หรือ ร่างกายไม่ไหวขึ้นมา จะฟื้นขึ้นมาบอกหมอเอง คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย คอยเป็นคนดูแลและจตรวจดูความผิดปกติของร่างกายเรานั่นเอง
การตรวจสุขภาพก่อนการผ่าตัดศัลยกรรมมีอะไรกันบ้าง ข้อมูลยาวหน่อย แต่เพื่อความปลอดภัยของทุกคน มาดูกันเลยจ้า
1. ถ่ายภาพ X-ray สามารถที่จะตรวจสอบรูปทรงกับลักษณะของกระดูกใบหน้า การสบของฟันจากภาพถ่าย X-ray ด้วยพาโนรามา ด้านหน้าและด้านช้าง ทำการตรวสอบข้อต่อของนิ้วมือด้วยกระดานวัดการเจริญเติบโตว่าหยุดการเจริญเติบโตแล้วหรือไม่
2. ภาพถ่าย 3D-CT สามารถตรวจสอบรูปทรงความหนาของกระดูกใบหน้าไปจนถึงทางผ่านตำแหน่งของเส้นประสาท จำเป็นในการวางแผนการผ่าตัด อีกทั้งยังช่วยคาดการผลลัพธ์หลังการผ่าตัดได้อีกด้วย
3. ตรวจ V-cep คือการตรวจการงอกของกระดูกใบหน้า กับความสมดุลการสบฟัน สามารถที่จะตรวจสอบการเคลื่อนไหวของกระดูกกราม ผ่านการผ่าตัดสมมติจากคอมพิวเตอร์
4. ภาพถ่าย X-ray ทรวงอก ด้วยการตรวจสอบอย่างง่ายช่วยวินิจฉัยโรคทางทรวงอก ไม่ว่าจะเป็นปอด หรือหัวใจ ความสั่นสะเทือนระหว่างด้านซ้ายและขวาของปอด สามารถที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโรคของอวัยวะได้
5. TMJ การตรวจสอบข้อต่อคาง ทำการวินิจฉัยความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงของกระดูกหรือตำแหน่งของข้อต่อกรามผ่านการตรวจฉายรังสีและการตรวจกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อกรามเพื่อการวางแผนในการผ่าตัดได้อย่างเหมาะสมแม่นยำ
6. ตรวจวัดคลื่นหัวใจ EKGตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นหัวใจด้วยการบันทึกลายเส้นสามารถรู้การทำงานของเส้นเลือดดำว่าทำงานปกติหรือไม่ หรือดูว่ามีการผิดปกติของชีพจร ความผิดปกติของการเต้นของหัวใจได้. เนื่องจากการให้ยาสลบและสภาวะการเต้นของหัวใจขณะทำการผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ จึงจำเป็นว่าจะต้องทำการตรวจว่ามีโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือการเต้นของชีพจรหรือไม่
7. ชั่งน้ำหนัก ดูว่าจะเป็นมาตรฐานโดยทั่วไป เช่น ความสูงน้ำหนัก และปริมาณกล้ามเนื้อ เพื่อวิเคราะห์และป้องกันการให้ยาสลบในการผ่าตัดไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างกระบวนการ และเป็นการควบคุมมาตรฐานการใช้ยาอีกด้วย
8. วัดความดันเลือด ในกลุ่มลูกค้าบางท่านอาจจะมีโรคประจำตัว เล็ก ๆ น้อย ๆ ต่างกันออกไป และแน่นอนว่าความสามารถในการรักษาเยียวยาตัวเองลดลง และยังเสี่ยงในการเสียเลือดสูงมาก จึงจำเป็นอย่างมากในการต้องวัดความดันเลือดก่อนผ่าตัดทุกครั้งทุกชนิด
9. ตรวจสมรรถภาพของปอด กรณีที่สมรรถภาพของปอดต่ำ หรือเป็นผู้ที่มีความผิดปกติ เมื่อโดนยาสลบตอนผ่าตัดและตอนหลังการผ่าตัดอาจมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนทางปอด เกิดขึ้นช่วงดูแลร่างกายให้หายดี หมอหลายๆท่านจึงแนะนำว่าให้ตรวจสมรรถภาพทางปอดก่อนที่จะตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดเสียอีก
10. ตรวจสอบการกลั้นหายใจ ในการตรวจสอบสภาพปอดสามารภ ตรวจสอบการกลั้นหายใจไปพร้อมกันได้ จะทำการตรวจสอบลมหายใจของโพรงจมูกว่าสามารถทำหน้าที่ได้สม่ำเสมอหรือไม่ โดยการตรวจ T-test เพื่อวิเคราะห์การหายใจ เมื่อมีการผ่าตัดว่าจะไม่เกิดปัญหาในการหายใจ
11. ตรวจความหนาแน่นของกระดูก สำหรับเคสการผ่าตัด กระดูกใบหน้า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ปริมาณความหนาแน่นของกระดูก ว่าอยู่ในขอบเขตที่ปกติหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยก่อนการผ่าตัดได้เป็นอย่างมาก หากว่ากระดูกมีความเปราะบางเกินไป ก็ไม่เหมาะสมผ่าตัดกระดูกโครงหน้า
12. การตรวจปัสสาวะ เป็นการช่วยคัดแยกโรคประจำตัวต่างๆ ทั้งโรคประจำตัวหรือโรคที่ติดต่อได้ โดยการตรวจ โรคเกี่ยวกับไตหรือน้ำปัสสาวะโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจวินิจฉัยก่อนผ่าตัด
13. ตรวจสมรรถภาพของไต (BUN/Creatinine/Uric acid/Na/K/CL/U/A10) หมอแนะนำให้ตรวจสภาพสมรรถภาพของไต สภาพโภชนาการ อุปสรรคของการดูดซับ โรคไต ทางเดินปัสสาวะ สภาวะตับล้มเหลว น้ำตาลในเลือดต่ำโรคเกี่ยวกับปวดไขข้อ เนื่องจากไตมีหน้าที่กรองของเสียในร่างกายทำหน้าที่ย่อยสลายตัวยาต่างๆทำให้ปรับสภาพการถ่ายเทที่สำคัญไปสู่หัวใจทำการตรวจสอบก่อนผ่าตัดในกรณีที่มีความผิดปกติบางอย่างรุนแรงต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วนในการผ่าตัดตามสภาพของไตจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนปริมาณของตัวยาหลายชนิดที่ใช้ในการผ่าตัด หรือในเคสที่มีปัญหาของไต อาจจะต้องลดปริมาณของตัวยา
14. การตรวจสภาพตับโดยรวม ลิสต์ในการตรวจจะมี การตรวจสภาพตับ, สภาพโภชนาการ, อุปสรรคของการดูดซับ, เลือดไม่หยุดไหลเกี่ยวกับบินลิรูบิน, โรคทางเดินน้ำดี โรคตับ, โรคติดต่อเรื้อรัง, มะเร็งตับ, ไวรัส, ไวรัสตับอักเสบบี, การสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย, ตัวปฏิชีวนะ เพราะว่าตับคืออวัยวะภายในที่สำคัญ ช่วยในการแพร่กระจายตัวยาหลายชนิด ทำการตรวจสอบสภาวะตับ หากมีความผิดปกติอย่างรุนแรง จำเป็นต้องรักษาก่อนทำการแยกและหลีกเลี่ยงตัวยาที่เป็นอันตรายต่อตับ
15. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เช่นเบาหวานคอเลสเตอรอลในเลือด ในกรณีที่เป็นเบาหวานหรือคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูงควรจะต้องรักษาตั้งแต่ ตรวจพบและเลื่อนการผ่าตัดศัลยกรรมออกไปก่อน หากรักษาระดับน้ำตาลหรือคอเลสเตอรอล ลงได้ แล้ว จึงแสดงผลและนัด ผ่าตัดกับทางผ้าศัลยกรรมอีกครั้ง เนื่องจาก ก่อนการผ่าตัดศัลยกรรม แพทย์จะให้หยุดทานยา เบาหวานหรือคอเลสเตอรอล ก่อนการผ่าตัด
16. การตรวจ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด จะเป็นการตรวจคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดลดไขมันในหลอดเลือดโรคหลอดเลือด แดงแข็ง สภาวะสมองเสื่อมเมื่อขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจนั้นเป็นเส้นทางที่สำคัญในการมอบออกซิเจนและอาหาร หาเส้นทางนั้น ไม่ได้แข็งแรงราบรื่นมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้มีความผิดปกติต่อหัวใจในการทำการผ่าตัดและจะทำให้เป็นอันตรายอย่างมาก ในการผ่าตัดได้เช่นกัน
17. การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ นอกจากตรวจ หลอดเลือดซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางแล้วสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือการตรวจหัวใจเราเอง ด้วย เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญมากที่สุดของชีวิต ในการผ่าตัดก็มีความสำคัญมากที่สุดด้วยเช่นกัน เราควรจะตรวจ ว่ามีความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย, โรคหลอดเลือดไหลไม่หยุด, โรคเส้นเลือดตีบ หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรทำการตรวจสอบเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจและการตรวจสอบว่ามี การเกิดความเสียหายต่อหัวใจมาก่อนหรือไม่ แพทย์สามารถทำการคาดเดาโรคเกี่ยวกับหัวใจล่วงหน้าได้ด้วยหรือ Hs-CRP
18.ตรวจโรคกล้ามเนื้อกระดูก ต้องตรวจดูว่ามีการอักเสบของข้อบ้างหรือไม่ซึ่งจะทำให้เกิดการขัดต่อกรามกระดูกคอและส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการวางแผนใส่ท่อในการวางยาสลบรวมไปถึงตัวยาที่ใช้ในการรักษาข้อต่ออักเสบโรคปวดไขข้อและการผ่าตัดอาจเป็นตัวเพิ่มการติดเชื้อ หรือการรักษาบาดแผลในการทำศัลยกรรมนั้นจะทำให้แผลหายช้าลง เพราะฉะนั้นก่อนผ่าตัดควรควบคุมปริมาณตัวยาที่ทานอยู่ก่อนหน้านั้นด้วยควรปรึกษา หมอทั้ง 2 ทาง คือหมอประจำตัว และหมอศัลยกรรมอย่างใกล้ชิดแนะนำให้ตรวจสภาพปรับสภาพสภาวะโภชนาการโรคข้อรูมาตอยด์โรคไขข้ออักเสบ
19.ตรวจสมรรถภาพต่อมไทรอยด์ เพราะต่อมไทรอยด์นั้นเป็นฮอร์โมนที่สำคัญและเป็นตัวกระจายสารต่างๆเข้าสู่ร่างกายของเรา ในกรณีที่ฮอร์โมนมีการผลิตมากเกินไปหรือที่เรียกว่าไฮเปอร์ไทรอยด์ และตรงกันข้าม กรณีที่ผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไปหรือที่เรียกว่าไฮโปไทรอยด์มีผลกระทบต่อหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ ทำให้จังหวะการเต้นหัวใจผิดจังหวะ ก่อให้เกิดปัญหา และผลกระทบ สู่การผลิตความร้อนในร่างกายและเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมันเพราะฉะนั้นก่อนการผ่าตัดศัลยกรรม ควรทำการตรวจสุขภาพล่วงหน้า และทำการรักษาเสียก่อนจะช่วยลดความผิดพลาดในการผ่าตัดได้
20.การตรวจสอบการแข็งตัวของเลือด แน่นอนอยู่แล้วว่าการผ่าตัดจะต้องมีเลือดออก ฉะนั้นการเตรียมพร้อมและตรวจสอบประเมินความผิดปกติล่วงหน้าโดยการทดสอบการแข็งตัวของเลือด จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย ให้กับตัวเอง และยังมีคนไข้บางกลุ่มที่ใช้ยา วาร์ฟาริน หรือ เฮฟาริน ซึ่งเป็นยาที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ ยา 2 ตัวนี้ ต้องหยุดใช้ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
21.การตรวจสอบโลหิตจาง ในกรณีที่ บางท่านมี โรคโลหิตจางค่อนข้างรุนแรง อาจจะส่งผลกระทบกับสมรรถภาพของหัวใจและปอดหรือร่างกายหายใจติดขัดซึ่งจะเป็นความเสี่ยงอย่างมากในการผ่าตัดและเกล็ดเลือดมีผลต่อสภาวะการแข็งตัวของเลือดด้วยเช่นกัน รวมไปถึงการตรวจสอบสภาพอักเสบของร่างกายในปัจจุบันมีโรคเกี่ยวกับเลือดเป็นพิษหรือไม่จากปริมาณเม็ดเลือดขาวนั่นเอง หมอแนะนำให้ตรวจโรคเลือดทั่วไปโรคโลหิตจางธาตุเหล็กภาวะธาตุเหล็กเกินโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
22.ตรวจกรุ๊ปเลือดเพื่อการเตรียมเลือด ปกติก่อนผ่าตัดทุกหมอทุกโรงพยาบาลจะตรวจให้กับคนไข้อยู่แล้วว่า คนไข้มีกรุ๊ปเลือดอะไร เผื่อไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยเฉพาะการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งจะต้องมีการเสียเลือดมากในการผ่าตัด
23.ตรวจสอบโรคติดต่อ หมอแนะนำให้ทำการตรวจสอบว่ามีไวรัสแต่ละชนิด, เอดส์, ซิฟิลิส และอื่นๆหรือไม่ อาจจำเป็นที่จะต้องรักษาก่อนการผ่าตัด หรือบาง รพ. อาจจะต้องขอปฎิเสธการเข้ารับบริการ
ทั้งหมดนี้เป็น List ที่ทาง So - Me ได้รวมรวมไว้ให้ ไม่ว่าจะผ่าตัดที่ในเมืองไทยเอง หรือ ที่เกาหลีก็ตาม เพื่อความปลอดภัย ในการผ่าตัด รวมถึงข้อมูลสุขภาพของเรา เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเราควรจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญยังช่วยลดความเสี่ยง เรื่องการเสียเวลา เสียเที่ยว ที่อาจจะบินไปถึงเกาหลีแล้ว ก็ดันถูก รพ. ที่นู่นเค้าปฏิเสธรับเข้าผ่าตัด เพราะเหตุผลทางด้านสุขภาพเราเอง ฉะนั้นเราจึงแนะนำว่า ตรวจไปเองก่อนดีที่สุด ถึงแม้ว่าไปถึงที่นั่นแล้ว หมอเค้าจะตรวจให้อีกรอบ แต่แอบบอกเลยว่า ส่วนใหญ่ หมอเค้าไม่ได้ตรวจครบ ตาม 23ลิสต์นี้ นะจ๊ะ อย่าลืมสอบถามกลับไปที่ รพ. และคลีนิคกันก่อนนะคร้าาาา…
ด้วยรัก ❤
So- Me: Be the Best Version of you
แหล่งอ้างอิง (“medical-guide”) จาก รพ. ไอดี